คอร์สอบรมนี้สอนอะไร ?

Psychology for Management & Motivating Techniques หลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ “จิตวิทยาการบริหาร และการจูงใจทีมงาน” เรียนรู้จิตวิทยาการบริหาร การสร้างแรงจูงใจ และการโน้มน้าว จากนักจิตวิทยาระดับประเทศ เพื่อจะเข้าใจคน และทีมงาน รีดเร้นศักยภาพในการทำงาน เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด เหมาะสำหรับหัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้บริหารทุกท่าน

หลักการและเหตุผล

คุณเชื่อไหม ? การบริหารคนนั้นยากยิ่งกว่าบริหารงาน องค์กรใดมีบุคลากรที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อการทำงาน จะสามารถนำพาความสำเร็จมาให้แก่องค์กรได้ง่าย ดังนั้นจิตวิทยาการบริหารและการสร้างแรงจูงใจทีมงานสำหรับผู้บริหารทุกระดับ ผู้จัดการ หัวหน้างาน ผู้บังคับบัญชาระดับต้นถึงระดับสูง หรือผู้ที่สนใจ เรียนรู้ศาสตร์ด้านจิตวิทยาการบริหารที่หัวหน้างาน ยุคใหม่จำเป็นต้องมี เพื่อบริหารคนทั้งผู้ร่วมงานและทีมงาน ซึ่งมีลักษณะของอุปนิสัยที่แตกต่างกันไปให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานเป็นทีม รวมถึงแนวคิดด้านการสร้างแรงจูงใจตั้งแต่การวิเคราะห์ทีมงาน ตลอดจนการใช้เครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจเพื่อมัดใจทีมงาน มีความสุขในการทำงานอย่างแท้จริง

Key Contents

แนวคิดจิตวิทยากับการบริหารงานยุคใหม่

ท่านจะได้เรียนรู้ถึงศิลปะเชิงจิตวิทยาการบริหารงาน องค์ประกอบ แนวคิดจิตวิทยาและกระบวนการเกิดแรงจูงใจ (Input Process Output) ที่ทำให้หัวหน้างานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักจิตวิทยาในการบริหารทีมงาน

ท่านจะได้เรียนรู้การปรับเปลี่ยนเจตคติ (Cognitive Component) เชิงบวกต่อองค์การ ตนเอง ผู้อื่น งานที่ทำ รวมถึงวิธีการจัดการอารมณ์ตนเอง และเข้าใจอารมณ์ผู้อื่นหรือทีมงานให้เกิดความสุขในการทำงานร่วมกันมากยิ่งขึ้น

การปรับเปลี่ยนเจตคติและการสร้างความคิดเชิงบวก

  • เจตคติที่ดีต่อองค์การ
  • เจตคติต่อตนเองและผู้อื่น
  • เจตคติต่องานที่ทำการจัดการอารมณ์ตนเอง และเข้าใจอารมณ์ผู้อื่นหรือทีมงาน

การค้นหาตนเอง เพื่อปรับปรุงอุปนิสัยที่ดีในการทำงาน

ท่านจะได้เรียนรู้ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s hierarchy of needs Theory) เพื่อค้นหาความต้องการของตนเองและผู้อื่นอย่างเป็นลำดับขั้น

  • ความต้องการประจักษ์ตน
  • ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น
  • ความต้องการความรักความเป็นเจ้าของ
  • ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย
  • ความต้องการด้านร่างกาย

การวิเคราะห์ทีมงานเชิงจิตวิทยาเพื่อเพิ่มความไว้ใจแบบ Teamwork

ท่านจะทราบถึงหลักการวิเคราะห์ทีมงานเชิงจิตวิทยาการบริหาร และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์เมื่อต้องอยู่ร่วมกันในองค์กร ทำอย่างไรให้มัดใจทีมงาน ทำอย่างไรให้ไว้ใจเรา

เทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการทำงานแก่ทีมงาน

เรียนรู้ ประเภทของแรงจูงใจในการทำงาน (แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์) และท่านจะได้เข้าใจถึง 3 เทคนิคในการสร้างแรงจูงใจ รวมถึงประเภทของแรงจูงใจในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ ที่มีความสัมพันธ์กันอันก่อให้เกิดผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

3 เทคนิคในการสร้างแรงจูงใจ

  • การปรับเปลี่ยนความคิด
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • การปรับเปลี่ยนความรู้สึก

เครื่องมือของหัวหน้างานยุคใหม่ในการสร้างแรงจูงใจแก่ทีมงาน

ท่านจะสามารถนำเครื่องมือเชิงจิตวิทยาไม่ว่าจะเป็น 5 P. for Best Attitude, Hypothesis of Theory และ A-B-C Theory ไปประยุกต์ใช้สร้างแรงจูงใจแก่ทีมงาน รวมถึงองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  • 5 P. for Best Attitude
  • Hypothesis of Theory
  • A-B-C Theory

Key Benefits

  • ทราบถึงแนวคิด หลักจิตวิทยาในการบริหารทีมงานยุคใหม่
  • สามารถค้นหาตนเอง และวิเคราะห์ทีมงานในเชิงจิตวิทยา เพื่อนำมาพัฒนาทีมงานทุกมิติให้เกิดประสิทธิภาพ
  • เข้าใจถึงเทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่ทีมงาน
  • สามารถนำเครื่องมือต่าง ๆ มาสร้างแรงจูงใจให้ทีมงาน และนำไปปรับใช้กับองค์กรได้อย่างเหมาะสม

หมวดหมู่

การพัฒนาตนเองและบุคลิกภาพ / การบริหารการจัดการ กลยุทธ์ธุรกิจ / หัวข้ออบรมอื่นๆ

รูปแบบการเรียน

เรียนออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting (พร้อมรับไฟล์เอกสาร)

อื่น ๆ ที่ผู้เรียนต้องรู้

วิทยากร รศ.ดร.ปรัชญา ปิยมโนธรรม ที่ปรึกษา ศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ

ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา ประสบการณ์การทำงาน อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เวลาเรียน

สอบถามโดยตรงกับผู้จัดคอร์สอบรม

ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาสอบถามเพื่อคอนเฟริมโดยตรงกับผู้จัดคอร์สอบรมอีกครั้ง

Source link : คลิกดูข้อมูลเต็ม

สนใจติดต่อได้ที่

  • สอนโดย : ศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ
  • ติดต่อได้ที่ : คุณศุภิสรา
  • อีเมล : public@sbdc.co.th
  • โทร : 085 485-8825
  • เว็บไซต์ : https://sbdc.co.th/public-training-calendar/800/psychology-for-management-amp-motivating-techniques/
  • LINE Id : @strategiccenter
Exit mobile version