Main Focus

  • Digital Disruption มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของผู้คนตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
  • กลยุทธ์ 4E เข้ามาแทนที่ 4P เมื่อใช้ร่วมกับ Martech จะยิ่งมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
  • ความสำคัญของ Marketing 4E ซึ่งประกอบด้วย Experience, Exchange, Everyplace และ Evangelism
  • จะบูรณาการ 4E ร่วมกับ Martech อย่างไร ? ตัวอย่างเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่นำไปใช้แล้ว
อ่านเนื้อหาทั้งหมด

แม้ปัญหาการแพร่ระบาดและการปะทุของสงครามในช่วงเวลาที่ผ่านมา จะส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจทั่วทั้งโลก แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเทคโนโลยีที่เรารู้จักในนาม ‘Digital Disruption’ ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เพียงการใช้กลยุทธ์แบบ 4P คงไม่พอจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและประคับประคองให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ จึงไม่แปลกที่จะเกิดกลยุทธ์ใหม่สำหรับรับมือกับกระแสการ Disrupt ของเทคโนโลยี กลยุทธ์ 4E จึงเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดสำหรับนำมาปรับใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน และจะทรงประสิทธิภาพอย่างมาก หากใช้ร่วมกับ Martech เทคโนโลยีล้ำสมัยที่ช่วยให้คุณสามารถทำการตลาดได้ดียิ่งขึ้น 

เหตุผลดังกล่าวจึงทำให้พวกเราเริ่มสงสัยและต้องการค้นหาคำตอบต่อคำถามที่ว่า เราจะนำกลยุทธ์มาปรับใช้กับปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อปัญหาให้กระจ่างมากขึ้น

Digital Disruption :  เริ่มกระดานหมาก ตั้งต้นจาก 4P กลายสภาพเป็น 4E

แต่เดิมหลายองค์กรมักใช้กลยุทธ์ 4P เป็นแนวทางหลักสำคัญบริหารจัดการ เพียงแค่มีสินค้า ราคา โปรโมชั่น และสถานที่สำหรับจัดจำหน่าย ก็เพียงพอสำหรับครองใจกลุ่มตลาดที่ต้องการ จนกระทั่งเทคโนโลยีได้เข้ามาสนองตอบความสะดวกรวดเร็วของผู้บริโภค การเข้ามาและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีจึงพลิกโฉมวงการตลาดไปตลอดกาล หลายธุรกิจที่ไม่ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีจึงไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้ ดังที่ เครย์ตัน คริสเตนเซ่น (Clayton Christensen) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาด ได้นำเสนอ ‘Disruptive Innovation Theory’ ทฤษฎีการแทรกแซงของเทคโนโลยี ซึ่งนำธุรกิจและองค์กรสามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

(1) Low-end Disruption

คือการเปลี่ยนแปลงตลาดที่มีอยู่ ด้วยการปรับความสามารถหรือลดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการปรับราคาให้ถูกลง เพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงตัวสินค้า และสอดรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างพอเหมาะ

(2) New-Marketing Disruption

คือการนำเสนอเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมรูปแบบใหม่ ที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มตลาด โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด ทว่ากลับให้คุณภาพที่คุ้มค่าสำหรับการบริโภค

Image by rawpixel.com on Freepik

องค์ประกอบสองอย่างในทฤษฎีดังกล่าวแตกต่างต่างกันที่การเน้นกลุ่มเป้าหมายสำหรับการให้บริการ ซึ่งวิธีแรกจึงเน้นที่กลุ่มตลาดที่มีอำนาจการจ่ายมาก และอีกวิธีหนึ่งนั้นเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่มีอำนาจการจ่ายน้อย แม้ว่าทั้งสองวิธีการภายใต้ทฤษฎี Disruptive Innovation จะแตกต่างเช่นไร ทว่าหากนำสองวิธีการดังกล่าวซึ่งมีจุดแข็งเฉพาะตัวมาใช้ร่วมกันเพื่อกลบจุดอ่อนของแต่ละวิธีที่มี ก็สามารถขจัดเงื่อนไขเรื่องขนาดของธุรกิจออกไป ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคใด ๆ สำหรับการแข่งขันในตลาด

แล้วม้าศึกอย่าง Marketing 4E มีอะไรบ้าง ?

เริ่มจากจากทฤษฎี Disruptive Innovation ร่วมกับสภาพการณ์จริงที่เกิดขึ้น จึงมีบทบาทสำคัญที่ในการกลายสภาพกลยุทธ์ 4P ให้กลายเป็น 4E ไปในที่สุด ซึ่งประกอบด้วย

E แรก : Experience

ภาพลักษณ์และประสบการณ์เป็น First Impression ด่านแรกที่สำคัญที่สุด เพียงลำพังแค่รูปลักษณ์ ราคา โปรโมชั่นของผลิตภัณฑ์ ไม่เพียงพอแล้วสำหรับการตลาดในยุคปัจจุบันที่มีโซเชียลมีเดียเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ‘แอพลิเคชั่น’ (Application) หน้าร้านหลักออนไลน์ ซึ่งรวมกระบวนการซื้อขาย ร่วมกับการให้บริการตอบคำถาม และการสื่อสารในภาวะวิกฤตเมื่อเกิดปัญหา หากสามารถควบคุมองค์ประกอบต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม จะสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้ จนเกิดการแชร์และบอกต่อ

E สอง : Exchange

การแลกเปลี่ยนที่ดี ควรให้ผลต่างตอบแทนที่คุ้มค่าและเท่าเทียม เฉกเช่นเดียวกับราคาและคุณภาพของตัวสินค้าก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน การตั้งราคาต่อสินค้าดังกล่าวนั้นพิจารณาอย่างรอบคอบในทุกด้านหรือไม่ และคุณภาพของสินค้านั้นดีเพียงพอต่อระดับราคา จนผู้บริโภครู้สึกพึงพอใจหรือไม่ หากสามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ ก็จะสามารถนำความต้องการซื้อและความต้องการขายมาบรรจบกัน ณ จุดดุลยภาพได้

E สาม : Everyplace

เพียงผู้บริโภคสามารถเข้าถึงธุรกิจได้ในทุกที่ทุกเวลา ทั้งจากสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ ก็สามารถติดตามข่าวสารหรือเลือกชมสินค้าผ่านเว็บไซต์ แอพลิเคชั่น และช่องทาง (Channel) ที่เป็นไปได้อื่น ๆ ที่ทำให้ผู้คนรู้จักแบรนด์มากขึ้น

E สี่ : Evangelism

การซื่อสัตย์ต่อแบรนด์ของผู้บริโภค เป็นสืบทอดสุดท้าย หลังจากมีประสบการณ์ที่ดีจากองค์รวม โดยทำให้กลุ่มเป้าหมายประทับใจจนเป็นกลุ่มฐานลูกค้า และหากแบรนด์นั้นต้องการนำเสนอสินค้าตัวอื่นที่จะเพิ่มระดับความประทับใจ ก็เป็นไปได้มากกว่า

ใครยังไม่รู้จัก 4P คลิก !

Martech เทคโนโลยีล้ำยุค เรือศึกผู้พิชิตเกมทั้งกระดาน

เทรนด์ใหม่สำหรับทำการตลาดในช่วงสามถึงสี่ปีที่ผ่านมา คำว่า ‘Martech หรือ ‘Marketing Technology’ เป็นชื่อที่คุ้นหูของคนในวงการตลาดออนไลน์ ซึ่งมีบทบาทเป็น AI ผู้ช่วยในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ ประมวลผล และวางแผนแคมเปญเพื่อสนองตอบความต้องการลูกค้าที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น  

Martech จึงเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญดอกหนึ่ง สำหรับไขปัญหาการตลาดยุคใหม่ ซึ่งเพิ่มอิสระในการสื่อสารผ่านช่องทางที่หลากหลายในต้นทุนที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกับการทำโฆษณาแบบเดิม รวมถึงทำนายพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำในระยะเวลาอันสั้น

Image by rawpixel.com on Freepik

บูรณาการ 4E และ Martech ตอบโจทย์ทุกห้วงความต้องการของผู้บริโภค

หาก Martech เป็นผู้ช่วยที่การวางแผนการตลาดเป็นเรื่องสะดวกสบายยิ่งขึ้น 4E ก็คือหลักการตอบสนองผู้บริโภคยุคใหม่แบบองค์รวม เมื่อนำทั้งสองสิ่งมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนต่อกันจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันดังต่อไปนี้

Experience : เติมเต็มประสบการณ์เพียงออกแบบ User Interface ให้พอเหมาะ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหน้าตาของร้านหรือบริษัทบนโลกออนไลน์ เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกประทับใจ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ภาษาที่ใช้สื่อสาร ความพร้อมของ feature ที่สั่งซื้อเสร็จเพียงไม่กี่ขั้นตอน ความสะดวกในการปาด Touchscreen หรือแม้แต่ความเร็วในการโหลด  เหล่านี้คือ User Interface ซึ่งเป็นดั่ง First Sight ที่ทำให้ผู้บริโภคอยากปฏิสัมพันธ์กับร้านหรือองค์กรของเรา เว็บไซต์ และ แอพลิเคชั่น จึงเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของ UI หรือ User Interface ชัดเจน ซึ่งปัจจุบันมีระบบ CMS อย่าง WordPress, Magento, Squarespace, Wix ให้เราสามารถสร้างเว็บไซต์ที่มีหน้าตาสวยงาม พร้อม feature สำเร็จรูปที่พร้อมใช้งานอย่างง่ายดายตลอดวันและเวลา 

Exchange & Everyplace : สะดวกทุกที่ของครบถึงมือเพียงจับมือกับโลจิสติกส์

การซื้อขายบนโลกออนไลน์จะเป็นไปไม่ได้ หากขาดระบบโลจิสติกส์ไป เนื่องจากไปตัวช่วยสำคัญที่ผู้บริโภคสะดวกสบายในการจับจ่ายได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นช่วงระหว่างติดภาระงานตลอดทั้งวัน หรือแม้แต่การอยู่กักตัวภายในบ้านท่ามกลางการแพร่ระบาดหนัก อย่างไรก็ตาม การได้สินค้าที่ไม่เหมือนกับหน้าตา หรือประสิทธิภาพที่ไม่คุ้มราคาเป็นจุดอ่อนที่เกิดขึ้นเสมอในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทว่ามีบางธุรกิจที่สามารถขจัดปัญหานี้ให้หมดไปได้ ดังกรณีศึกษาของ Nocnoc แพลตฟอร์มจำหน่ายวัสดุ สิ่งก่อสร้าง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านที่ประสบความสำเร็จในการทำตลาดในช่วงโควิดที่ผ่านมา Nocnoc ได้เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถสั่งสินค้าเพื่อทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ก่อน และเมื่อใช้งานจนประทับใจในคุณภาพสินค้า ก็สามารถชำระเงินซื้อสินค้าได้เลย

Evangelism : รักษา Brand Royalty ผ่าน Remarketing Campaign

เมื่อทำการตลาดให้กับธุรกิจไปสักพักจนถึงจุดอิ่มตัว เป็นเรื่องธรรมดาที่จะหาผู้บริโภคหน้าใหม่ได้ยาได้ยากขึ้น การ Re-marketing จึงเป็นส่วนสำคัญในการรักษาฐานกลุ่มผู้บริโภคในแบรนด์ของเราให้คงอยู่ต่อไปได้ยาวนาน Social Media อย่าง Facebook, Instagram, LINE, Google จึงเป็นกรณีศึกษาสำหรับการทำ Re-marketing Campaign เป็นอย่างดี เนื่องจากแพลตฟอร์มตัวอย่างดังกล่าวมีระบบเก็บฐานข้อมูลลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เข้าเพจ ดูวิดีโอ ทักแชท สั่งซื้อสินค้า และอื่น ๆ สิ่งเหล่านั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเลือกกลุ่มเป้าหมายสำหรับยิงโฆษณา (Social Media Ads) รวมถึงขยายผลการยิงโฆษณาด้วยการหากลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะของพฤติกรรมที่มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นไปได้ที่กลุ่มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันจะเลือกซื้อสินค้าของเราเช่นเดียวกัน

Credit :

https://www.impactmybiz.com/blog/what-is-martech/

https://www.tylernet.com/blog/the-4-es-of-marketing-success/

Cover Image : Image by jcomp on Freepik


คอร์สอบรมแนะนำจาก อบรมดอทคอม

Exit mobile version