การ ทำธุรกิจกับเพื่อน หรือแฟน ใครหลายคนต่างก็บอกว่าเป็นความหายนะ เพราะธุรกิจอาจพังยังไม่พอ คุณยังอาจจะเสียความสัมพันธ์กับเขาเหล่านั้นอีกด้วย งานนี้ไม่มีอะไรคุ้มค่าเลย บางรายโชคดีหน่อยอาจจะแยกย้ายกันด้วยดี แต่ก็คงมีตะขิดตะขวงใจกันบ้าง มองหน้ากันอย่างคุ้นชินไม่ได้เหมือนเดิมอีกแล้ว ตัวอย่างด้านไม่ดีมีมากมายให้พบเห็น เพราะฉะนั้นการทำธุรกิจกับเพื่อนหรือแฟน หลายคนจึงคิดว่าไม่เวิร์คแน่ ๆ แต่เหรียญมีสองด้านเสมอ ใช่ว่าจะมีแต่คนที่ล้มเหลว ที่ประสบความสำเร็จมีให้เห็นก็ไม่น้อย อย่างเช่น Airbnb ที่ก่อตั้งโดย สามเพื่อนเกลอ Nathan Blecharczyk, Brian Chesky and Joe Gebbia หรือ Hewlett-Packard ก็เริ่มจากสองเพื่อนซี้ที่จบจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน Bill Hewlett และ Dave Packard

Fun-Fact : Big Tech. Company ชื่อดังระดับโลก ที่เรารู้จัก ไม่ว่าจะเป็น Google, Microsoft และ Apple ต่างก็ไม่ได้เริ่มต้นจากคน ๆ เดียว โดย Google ริเริ่มจาก Sergey Brin และ Larry Page,Microsoft : Bill Gates และ Paul Allen, และ Apple : Steve Wozniak และ Steve Jobs

หากคุณเห็นรายชื่อบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ แล้วเกิดฮึกเหิมชวนเพื่อนซี้หรือคนรักลงขันทันที นั่นก็คงไม่ใช่ความคิดที่ดีเสมอไป หากคิดเพียงว่า เพื่อกันทำด้วยกันเพียงใช้ใจแลกใจ คงจะไมไ่ด้ และหากมีการวางแผนที่ไม่เพียงพอ หรือมองว่าเพื่อนอะไรยังก็ได้ คิดแบบนี้ปุ๊บเจ็บทุกรายแน่นอน ในบทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำทุกคนว่าทำธุรกิจกับเพื่อนอย่างไร ไม่ให้เสียเพื่อน อ่านจบค่อยไลน์หาเพื่อนแล้วกัน !

Image by Freepik

ทำธุรกิจกับเพื่อน แบบบริษัท ต้องแยก ‘เรื่องหุ้น’ กับ ‘เรื่องงาน’

ปกติแล้วในการที่จะเปิดบริษัทจำเป็นต้องมีสมาชิกทั้งหมด 3 คนที่ถือหุ้นร่วมกันเป็นอย่างต่ำ โดยหุ้นทั้ง 3 คนนี้ควรจะมีการแบ่งเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกัน หากใครลงเงินมากก็จะได้เงินปันผลมาก และหากใครลงเงินน้อยก็จะได้เงินปันผลที่น้อยกว่า แน่นอนว่าการถือหุ้นหมายความว่า “คุณและเพื่อนของคุณเป็นเจ้าของบริษัท” ซึ่งจะมีการรวบรวมเงินทุนมาตั้งเป็นกองกลางไว้ ในจุดนี้ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าใครจะลงกี่บาทอย่างไร เพื่อที่จะใช้ต่อยอดในการทำธุรกิจกับเพื่อน ในจุดนี้ควรเคลียร์ให้เรียบร้อยไม่งั้นไปต่อไม่ได้

สิ่งสำคัญที่ต้องกำหนดให้ชัดเกี่ยวกับการทำทำธุรกิจกับเพื่อน

1. กำหนดหน้าที่และบทบาทของแต่ละคนให้ชัดเจน

ในส่วนของการ ทำธุรกิจกับเพื่อน ในการกำหนดหน้าที่หรือบทบาทนั้นมีความสำคัญมาก โดยจะเป็นกำหนดในรูปแบบของพนักงาน ในส่วนของการจ่ายเงินก็สามารถอิงตามฐานเงินเดือนในตำแหน่งนั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น 

เพื่อนคนนึงเป็น CEO เพื่อนคนนึงเป็นพนักงานขาย อีกคนเป็นพนักงานแพคของ สิ่งทั้ง 3 นี้จะมีฐานเงินเดือนที่แตกต่างกัน แต่ต้องมั่นใจด้วยนะว่าแต่ละคนมีศักยภาพในการทำตำแหน่งนั้น ถ้าไม่มีแนะนำให้จ้างพนักงานคนอื่นเข้ามา 

ในระยะแรก ๆ อาจไม่สามารถให้เงินเต็มจำนวนได้ แนะนำว่าจะให้เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ก่อน เพื่อสะสมเงินทุนเพิ่มและเผื่อจะได้ขยายธุรกิจต่อได้ และหากมีหุ้นที่ไม่ได้ลงแรง ในช่วงแรก ๆ อาจจะไม่ได้เงินสักบาท เพราะกำไรยังไม่มี แต่ถ้าเริ่มมีกำไรและสามารถปันผลได้ก็จะได้เงินจากการถือหุ้น

2. สร้างเป้าหมายหรือสิ่งที่คาดหวังในการทำธุรกิจครั้งนี้

จริง ๆ แล้วข้อนี้ดูเหมือนควรจะมาเป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นจุดที่เพื่อนๆ มีความต้องการและมุ่งหวังที่จะไปเป้าหมายนั้น ซึ่งการตั้งเป้าหมายของแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะคิดการใหญ่ทั้ง ๆ ที่อาจจะเป็นไปไม่ได้ บางคนอาจะคิดแต่เอาพอดี ๆ แต่คนส่วนมากไม่โอเคอีก การมาถกเรื่องนี้ก่อน นับเป็นการเสียเวลาแนะนำว่าให้ลองจัดเรื่องหุ้นและกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนว่าใครควรจะทำอะไรก่อน ถ้าตรงนี้ตกลงกันไม่ได้ แนะนำว่ารีบแยกทางให้ไว ไม่งั้นคุณจะเสียเพื่อนได้ แต่ถ้าเป้าหมายเหมือนกันก็สามารถลุยต่อได้

Image by tirachardz on Freepik

3. ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือก็คือสัญญา

การพูดปากเปล่าเป็นอะไรที่ชี้เป็นชี้ตายมาหลายคน เพราะบางคนอาจจะแกล้งตีมึน หรือทำเป็นลืมได้ ดังนั้นควรจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรอธิบายเกี่ยวกับเรื่องการเป็นเจ้าของบริษัทว่าแต่ละคนจะถือหุ้นอย่างไร และทำอีกลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ขอบเขตการทำงาน รวมถึงเงินเดือนที่จะได้รับ ซึ่งตรงนี้ต้องระบุให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้หมดปัญหาในการถกเถียงระยะยาว ซึ่งต้องทำให้เสร็จก่อนเริ่มดำเนินการทำธุรกิจกับเพื่อน ถ้าเคลียร์ไม่ได้ต้องหยุดไว้ก่อน

4. กฎเกณฑ์สำคัญควรจะใส่ไว้ในเอกสารสัญญา

นอกจากการทำเอกสารเรื่องหุ้นกับหน้าที่การทำงาน ขอบเขตการทำงาน รายได้แล้ว จำเป็นต้องออกกฎข้อห้ามต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการทำทำธุรกิจกับเพื่อน กับเพื่อนในอนาคต เช่น ถ้าเพื่อนอยากเลิกทำจะขายหุ้นคุณจะต้องระบุราคาที่จะขาย ณ ตอนนั้นว่ามีราคาหุ้นอยู่ที่เท่าไหร่ ไม่ใช่เพื่อนมาโก่งราคาในการขาย หรือจะขายให้กับคู่แข่งที่อาจทำให้ธุรกิจพังได้ ในจุดนี้ต้องกำหนดให้ดี ตามหลักควรจะขายให้คนในบริษัทก่อน และแน่นอนข้อนี้สำคัญมากห้ามทำธุรกิจแข่งกันเป็นอันขาด

เริ่มทำธุรกิจกับเพื่อน  หากประสบปัญหาทางออกไม่ได้ควรทำอย่างไร

แน่นอนว่าในการทำ ทำธุรกิจกับเพื่อน มักจะต้องมีปัญหาหลายด้านเข้ามาแก้ไขเสมอ เพราะต่อให้เราวางแผนธุรกิจดีแค่ไหน สุดท้ายปัญหาที่ไม่คาดคิดก็มาอยู่ดี หากความเห็นตรงกันว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรก็ยังพอไปได้ แต่ถ้าหากความเห็นไม่ตรงกันและเถียงไม่จบไม่สิ้นเพราะคิดว่าตัวเองถูก งานนี้อาจทำให้จบไม่สวย เมื่อคุณเจอปัญหานี้แนะนำให้หผู้เชี่ยวชาญจากคนข้างนอกที่เขาสามารถแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้ดี จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะบางครั้งสิ่งที่ทุกคนคิดอาจจะผิดหมดก็ได้นั่นเอง

Image by tirachardz on Freepik

Key Takeaways : ต้องไตร่ตรองให้ดี

สุดท้ายในการทำธุรกิจกับเพื่อน จำเป็นต้องไต่ตรองให้ดีว่าควรจะทำดีหรือไม่ทำดี ก่อนอื่นต้องดูก่อนเลยว่าศักยภาพของเพื่อนแต่ละคนพร้อมหรือไม่กับการทำประเภทธุรกิจนี้ ถ้าไม่พร้อมควรแค่ถือหุ้นไม่ควรมาลงในหน้าที่การงาน นอกจากนี้แล้วต้องดูนิสัยว่าเพื่อนมีนิสัยที่เหมาะแก่การทำงานหรือไม่ หรือก็คือมีความรับผิดชอบหรือไม่ ถ้าตรงนี้ไม่มีแนะนำว่าไม่ควรไปต่อ เพราะบางทีเพื่อนอาจนิสัยดีก็จริง แต่ไม่มีนิสัยที่คนทำงานเก่ง งานนี้ใครบางคนก็จะต้องแบก พอแบกนานวันเข้าก็แตกและเสียเพื่อนได้

Cover Image : Image by Freepik


คอร์สอบรมแนะนำ “การบริหารการจัดการ กลยุทธ์ธุรกิจ” จากฐานข้อมูลอบรมดอทคอม

คอร์สอบรมแนะนำ “จัดซื้อ การตลาด การขาย บริการ” จากฐานข้อมูลอบรมดอทคอม

Exit mobile version