จิตวิญญาณที่สมบูรณ์ ย่อมอยู่ในจิตใจที่สมบูรณ์ และร่างกาย.. ที่สมบูรณ์

ประโยคคุ้นหูนี้อาจฟังดูเป็นเรื่องปกติสำหรับใครหลายคน ที่เมื่อลืมตาตื่นขึ้นมา ก็พบกับต้นไม้ใบหญ้าที่พลิ้วไสวคล้ายมีชีวิต คอยโอบล้อม.. และโอบกอดตัวเราและชุมชนอย่างเงียบสงบ จนกระทั่งวันหนึ่งที่โลกของเราเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industry Revolution) ประโยคที่ว่านี้ก็ฟังดูผิดแปลกไปจากเดิม ผู้คนต่างต้องปรับตัวให้อยู่รอดในระบบ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยแรงงานมนุษย์ เครื่องจักร ทรัพยากร และเงินตรา ฟังดูแล้วมันย้อนแย้งกับการ sustain วิถีชีวิตมากเหลือเกิน..

จนกระทั้งกิจกรรมเหล่านั้นดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดหนึ่งที่โลกและมวลชีวิตเริ่มส่อแวววิกฤติ และนั่นเองทำให้ผู้คนต่างเริ่มโหยหาชีวิตแบบดั้งเดิม และเล็งเห็นถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลมาถึงชีวิตความเป็นอยู่ของตน ผู้คนจึงหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น และเพื่อสนองตอบและสนับสนุนความต้องการดังกล่าว ธุรกิจหลายแบรนด์จึงหันมาสนใจเทรนด์ทางธุรกิจอย่าง Sustainable business กันมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่พัฒนาสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังสร้างการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของตัวเราต่อโลกทั้งใบอีกด้วย ทว่าโซลูชันใดบ้างล่ะที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนนี้ได้อย่างมีศิลปะ วันนี้เราจะพาทุกท่านไขคำตอบผ่านการมองทฤษฎีในมุมกลับของ อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) และนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกลยุทธ์ธุรกิจไปพร้อม ๆ กัน

Image by rawpixel.com on Freepik

Sustainable Business x Creative Economy : ทางรอดของธุรกิจในโลกยุคใหม่

แม้ว่าเทรนด์ธุรกิจเพื่อความยั่งยืนอย่าง Sustainable Business จะเข้ามาตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนของผู้คน และรักษ์โลกไปพร้อมกัน ทว่าเราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ‘Creative Economy’ หรือ ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ ก็มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กันในฐานะที่เป็นกิมมิคที่คอยแต่งแต้มสีสันให้เหล่าธุรกิจพร้อมเติบโตได้อย่างมีศิลปะ โดยเฉพาะการต่อยอดความคิดโดยอาศัยต้นทุนทางวัฒนธรรมหรือทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) ที่ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน งานฝีมือ ดนตรี ศิลปะการแสดง ภาพพิมพ์ แพทย์แผนไทย สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม และอื่นอีกมากมาย ล้วนแล้วเป็นจุดแข็งที่ยากจะหาประเทศใดเสมอเหมือน’เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ ก็มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กันในฐานะที่เป็นกิมมิคที่คอยแต่งแต้มสีสันให้เหล่าธุรกิจพร้อมเติบโตได้อย่างมีศิลปะ โดยเฉพาะการต่อยอดความคิดโดยอาศัยต้นทุนทางวัฒนธรรมหรือทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) ที่ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน งานฝีมือ ดนตรี ศิลปะการแสดง ภาพพิมพ์ แพทย์แผนไทย สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม และอื่นอีกมากมาย ล้วนแล้วเป็นจุดแข็งที่ยากจะหาประเทศใดเสมอเหมือน

เมื่อทั้งสองความคิดมาบรรจบกัน จึงเกิดการหลอมรวมระหว่าง ฮาร์ดเพาเวอร์ และ ซอฟต์เพาเวอร์ เป็นโซลูชันที่ให้ทั้งศิลปะและความยั่งยืนแบบครบสูตรในหนึ่งเดียว อันสอดคล้องไปด้วยกันกับ SDGs (Sustainable Development Goal) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

The Reverse of Maslow Theory : พลิกทฤษฎีแบบย้อนกลับ เพื่อ sustain โดยเริ่มต้นจากภายใน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างงดงามและยั่งยืน การเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญมาก หลายคนอาจเคยได้ยินนักการตลาดพูดถึง ทฤษฎีแรงจูงใจตามลำดับขั้นของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Need) อยู่บ่อยครั้ง แต่การบรรยายมักจบลงเหมือน ๆ กัน นั่นก็คือ เมื่อมนุษย์ทุกคนได้รับน้ำ อาหาร ความปลอดภัย ความรักและความเคารพที่เพียงพอแล้ว พวกเขาจะเริ่มหันมาตระหนักรู้ถึงคุณค่าในตัวเอง (Self-actualization) สิ่งนี้เองจึงทำให้หลายองค์กรหันมาอัดฉีดสวัสดิการให้เหล่าพนักงานได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ?!

Maslow’s Hierarchy of Need by simplypsychology.org

แต่จะมีสักกี่คนจะไปถึง “จุดสูงสุด” ของพีระมิดนั่น !!! และเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการได้รับความสุขทางวัตถุเป็นอย่างแรก จะเป็นรากฐานที่นำไปสู่การชักนำให้ผู้คนหันกลับมามองเห็นคุณค่าในตัวเอง บางทีโลกและชีวิตของเราอาจไม่ได้เริ่มต้นด้วยความต้องการทางกายเสมอไป ทว่าเริ่มต้นที่ ‘ความคิด’ (Thought) เป็นสิ่งกำหนดให้ผู้คนนั้นเลือกจะสรรค์สร้างหรือทำลายในคราเดียว เป็นไปได้ไหมหากเราจะลองมองทฤษฎีของมาสโลว์ในมุมกลับ โดยใช้ Self-actualization เป็นตัวตั้งต้น บางทีเราอาจได้คำตอบที่ต่างไปจากเดิม..

และสมมติฐานนี้จึงนำไปสู่การพลิกกลับอย่างมีนัยยะของเจ้าพีระมิดนั้น

Self-actualization : การตระหนักรู้ในคุณค่าว่าเราเป็นใคร

“คุณค่าในตัวเอง ล้วนเริ่มต้นจากภายใน” คือสิ่งแรกที่มอบความบริบูรณ์ให้กับชีวิต โดยเริ่มที่ ‘ความคิด’ ของเราเป็นลำดับแรก จากนั้นค่อย ๆ ตั้งต้นด้วยการค้นหาคำตอบว่าตกลงแล้ว ตัวฉันนั้นเป็นใคร ฉันเกิดมาเพื่ออะไรและฉัน.. มีหน้าที่อะไรกับโลกใบนี้ เช่นเดียวกันกับการให้เหตุผลถึงที่มาของธุรกิจของเรา รวมถึงความปรารถนาอันแรงกล้าที่ซุกซ่อนอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ ซึ่งเปรียบเสมือนความฝันที่อยากให้กลายเป็นจริงทั้งกับตนเองและผู้อื่น

พลิกกลับทฤษฎีมาสโลว์ : ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ (Maslow’s Hierarchy of Needs)

Esteem : ความมั่นใจว่าเรามีดีในจุดไหนบ้าง

เมื่อเราตระหนักรู้ในคุณค่าของตัวเอง ในฐานะมนุษย์หรือองค์กรหนึ่งที่พร้อมขับเคลื่อนโลกทั้งใบ ขั้นต่อมาก็คือการเคารพตัวเองว่าเรามีดีในจุดไหนบ้าง หากสมมติว่าเราทั้งหมดคือประเทศไทย ที่ต้องแข่งขันกับต่างชาติที่มีเทคโนโลยีนวัตกรรมที่โด่ดเด่นกว่า การ brainstorm หาข้อได้เปรียบด้วย SWOT Analysis ก็เป็นความคิดที่ไม่เลว คำตอบที่ได้ของสิ่งนั้นอาจเป็นที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือแม้แต่ต้นทุนทางวัฒนธรรมที่เราหาได้เพียงหนึ่งเดียวในโลก การค้นพบจุดเด่นแม้เพียงข้อเดียว ก็เพียงพอแล้วสำหรับยืดอกบนเวทีโลกอย่างเต็มภาคภูมิ

Love & Belonging : ผลผลิตจากการรังสรรค์ที่เป็นมากกว่า ‘เงินตรา’

“เรารักโลกโลกก็รักเรา”

แน่นอนว่า หากเราไม่รักโลก โลกก็พร้อมจะลาขาดกับเราเช่นกัน การประกอบธุรกิจโดยหวังเพียงผลกำไร คงไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วในโลกยุคใหม่ที่ทุกอย่างล้วนหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว Thailand Creative & Design Centre (TCDC) หรือ ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ จึงเป็นหนึ่งในองค์กรที่ใส่ใจในคุณค่าเชิงวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยพยายาม sustain โลกนี้ด้วยการนำทรัพย์สินทางปัญญา หรือต้นทุนทางวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นมาต่อยอดผ่านการบูรณาการเข้ากับเทคโนโลยีจนเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความประณีตงดงามที่เป็นเอกลักษณ์จนเป็นที่จับตาไปทั่วโลก 

สิ่งนี้เองจึงทำให้สินค้าและบริการมีมูลค่าที่สูงขึ้น และในขณะเดียวกันยังเพิ่มความตระหนักรู้ในคุณค่าของผู้คนให้รู้สึกผูกพันและภาคภูมิใจกับถิ่นฐานเมืองนอนของตน และพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างสรรค์สิ่งที่ดีไว้คอยประดับโลกต่อไป

Safety & Security : ความน่าอยู่ของโลกและสังคมมนุษย์

หากทุกแวดวงสังคมล้วนประกอบไปด้วยบุคคลที่ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของตนเอง และได้รับการเคารพและความรักอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อนั้นความปลอดภัยย่อมบังเกิดผล ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายมากขึ้น การมองทุกอย่างผ่าน สมมติฐานไกอา (Gaia Hypothesis) ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษอย่าง เจมส์ เลิฟล็อค จะทำให้เราเห็นภาพของความปลอดภัยในชีวิตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น 

“โลกนั้นมีชีวิตเป็นของตัวเอง” คงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดเกินกว่าจะเชื่อได้ หากโลกใบนี้ไม่มีมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอยู่ สุดท้ายโลกก็ยังต้องหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านต่อไปอยู่ดี ทว่าโลกกลับอนุญาตให้มนุษย์ได้เกิดขึ้นมา นั่นก็แสดงว่าทั้งโลกและมนุษย์นั้น ต่างเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันอยู่ การผดุงชีวิตและสิ่งแวดล้อมจะมาคู่กัน Sustainable business จึงตอบโจทย์อย่างมากสำหรับช่วยกอบกู้โลกไว้ได้ 

‘พลาสติก’ คงเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นสิ่งที่ย่อยสลายยากและเป็นภัยต่อสิ่งมีชีวิตหากไม่มีมาตรการจัดการที่เหมาะสมเพียงพอ ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจในหลายแบรนด์จึงเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลกแบบใหม่อย่าง การใช้ไบโอพลาสติก (Bioplastics) ที่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติในเวลาอันสั้น ซึ่งสร้างความรู้สึกปลอดภัยต่อตัวเราและผู้บริโภคอย่างยิ่ง

Physiological : ความสมบูรณ์จากภายในสู่ภายนอกอย่างสมบูรณ์

หลังจากก้าวผ่านการพัฒนาทางความคิดและจิตใจโดยสมบูรณ์แล้ว ก็ถึงเวลาที่ผลลัพธ์เหล่านั้นจะประทุสู่ภายนอกให้เห็นเด่นชัด นั่นก็คือความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย รวมไปถึงความต้องการด้านวัตถุที่เพิ่มระดับพึงพอใจให้ยิ่งขึ้นไป ทว่าความต้องการเหล่านั้นต้องสอดประสานไปกับกระแสของธรรมชาติ จนเกิดการหมุนเวียนและถ่ายโอนซึ่งกันและกัน ภายใต้ชุดความสัมพันธ์แห่งความยั่งยืนสามอย่างตามหลัก 3Ps ซึ่งประกอบด้วย คนหรือสังคม (People) โลกหรือสิ่งแวดล้อม (Planet) และกำไรหรือความมั่งคั่ง (Prosperity) 

ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้การบริหารทรัพยากรของโลกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก อันเป็นหลักแห่งความยั่งยืนที่ยังคงเหลือให้คนหรือสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไปยังสามารถใช้ดำรงชีพต่อไปได้ 

Cover Image : Image by rawpixel.com on Freepik

Credits :

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). 5 ผู้นำองค์กรธุรกิจเปิดมุมมองทางรอดสู่ความยั่งยืนในงาน SX2022. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/environment/1036079

แบรนด์บูฟเฟ่ต์. (2564). 5เทรนด์ธุรกิจจากMarketing 5.0สู่sustainabilityการตลาดยุคเทคโนโลยีและความ ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2021/04/5-trends-marketing-5-0-and-sustainability

Egor. (2012). The inverted maslow. 14 November 2022, derived from https://www.ultrasomething.com/2012/11/the-inverted-maslow

คิด ครีเอทีฟไทยแลนด์. (2565). เจาะลึก 4 เทรนด์ผู้บริโภคแห่งปี 2023. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=33713


คอร์สอบรมแนะนำจาก อบรมดอทคอม

Exit mobile version