คนหนุ่มสาววัย 25 ถึง 35+ ปลาย ๆ นี่คือช่วงวัยของการก่อร่างสร้างตัว ขะมักเขม้นกับการทำงานเพื่อความมั่นคง และสนุกกับการค้นหาตัวเอง ได้ทำอะไรใหม่ ๆ ซึ่งแน่นอนว่าแพสชั่นเหล่านั้นแลกมาด้วยพลังงานที่ต้องสูญเสียไปกับร่างกายที่กรำศึก สมองที่ต้องคิด หัวใจที่ต้องอดทน กล้ามเนื้อที่ต้องออกแรงแข็งขัน และถ้าหนุ่มสาวคนหนึ่งคนใดหลงลืมหันกลับมามองว่าสุขภาพร่างกายและจิตใจของพวกเขาเหล่านั้นถดถอยไปเท่าไหร่แล้วละก็.. แม้แต่เงินตราความสำเร็จที่หามาได้ ก็ไม่อาจทดแทนความเสื่อมโทรมของสุขภาพที่เสียไป.. ใด ๆ ในโลกล้วนต้องแลกเปลี่ยน และหากคุณไม่วางแผนให้ดี การเทรดระหว่างเงินตรา-ความสำเร็จ และสุขภาพร่างกาย-จิตใจ คุณอาจเจอกับสภาวะ “ได้ไม่คุ้มเสีย” เพราะฉะนั้น คุณต้องรู้ทัน ใส่ใจกับการ ดูแลสุขภาพ และเช็คอัพร่างกายอยู่เสมอ รู้ก่อน.. ป้องกันทัน ลุยงานได้เต็มกำลัง

ทำความเข้าใจสุขภาพร่างกายและจิตใจเบื้องต้น

Image by rawpixel.com on Freepik

ผลสำรวจของสวนดุสิตโพลช่วงหลังที่โควิดเริ่มซา พบว่าคนส่วนใหญ่หันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งเป็นอัตราที่ “เพิ่มขึ้น” กว่าเดิมถึง 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ และคงไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายมากนักกับการที่ตัวเลขพุ่งสูงขึ้นขนาดนี้ นั่นหมายความว่าพอคนทั่วไปพบวิกฤตการณ์โรคระบาดจึงเพิ่งตื่นตัวมากขึ้นเรื่องการดูแลสุขภาพ ฉันใดก็ฉันนั้น.. หากกลับสู่สภาวะปกติก็เป็นไปได้หรือไม่ว่า คนส่วนใหญ่ก็จะกลับมาละเลยการดูและสุขภาพเหมือนก่อนหน้านี้ ??? ดังนั้นเรื่องของการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจถือเป็นปัจจัยชี้นำที่ทำให้ชีวิตเป็นไปในทิศทางที่ดีหรือแย่ลงได้ โดยปกติแล้วร่างกายและจิตใจของคนเราหากมีการดูแลจัดการที่ดีและเป็นระเบียบให้คงอยู่ตามสมดุล อาการเจ็บป่วยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยจะไม่เกิดขึ้น แต่ก็ต้องทำความเข้าใจด้วยว่าเมื่อมนุษย์เราได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ในช่วงอายุ 20-25 ปี ร่างกายจะเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยเรื่อย ๆ ดังนั้นการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ส่งผลต่อการใช้ชีวิต การทำงาน และแน่นอนว่าสุดท้ายแล้วสุขภาพดีก็จะนำมาซึ่งความสุข

โรคยอดฮิต ปัญหาสุขภาพ ของคนอายุช่วง 25 – 40 มีอะไรบ้าง

เรื่องสำคัญของคนหนุ่มสาววัยทำงานที่ต้องรู้เท่าทัน คือ “โรคยอดฮิต” ของคนทำงาน และนี่ถือเป็นปัญหาสุขภาพของคนอายุ 25 – 40 ปี ที่มักพบได้บ่อย โดยสุขภาพจะมีความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพื่อที่จะป้องกันไม่เกิดเหตุเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ การรู้ก่อนว่าช่วงวัยทำงานนี้มีปัญหาสุขภาพอย่างไร ก็จะทำให้คุณสามารถระมัดระวังตัวได้มากยิ่งขึ้น โดยปัญหามีดังต่อไปนี้

1. โรคออฟฟิศซินโดรม

Image by macrovector on Freepik

สำหรับใครที่ทำงานออฟฟิศและนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นประจำแบบนี้ไม่หยุด ต้องบอกเลยว่า โรคออฟฟิศซินโดรม ถามหาแน่ ๆ แชมเปี้ยนตลอดการกับคู่หูคู่ซี้ของพนักงานบริษัทนั่งโต๊ะ โรคนี้จะเป็นโรคที่เกิดอาการปวด มีอาการปวดเกร็ง หรือปวดเรื้อรังเป็นเวลานาน สามารถเกิดได้ที่บริเวณ คอ บ่า ไหล และถ้าหากนั่งผิดท่าหรือปรับสรีระได้ไม่ดี ก็จะทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังคด หรือลามไปสู่โรคหมอนรองกระดูกได้ที่สุด ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาสุขภาพร่างกายที่ทุกคนอาจจะเจอในช่วงหนึ่ง และควรศึกษาเรื่องของการปฏิบัติตัวและ ป้องกันออฟฟิศซินโดรม ไว้ก่อนลุกลามเป็นปัญหาใหญ่

2. โรคกระเพาะ

เมื่องานมาก่อนทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่สามารถเป็นได้อย่างชัดเจนก็คือโรคกระเพาะ ที่อาจเกิดจากการทานอาหารไม่ตรงเวลา มีสภาวะเครียด การทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและอื่น ๆ อีกมากมายจะทำให้เกิดอาการปวดท้องแบบะจุกเสียด ซึ่งสามารถสร้างความทรมานได้ ดังนั้นหากใครเป็นโรคนี้ก็ควรหาทางรักษาก่อนที่จะลุกลามเป็นเรื้อรัง โรคกรดไหลย้อน หรือกลายเป็นโรคแผลในกระเพาะถ้าถึงในจุดนั้นการรักษาสุขภาพร่างกายให้ดีจะเป็นไปอย่างยากลำบาก

3. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

สำหรับใครทำงานต่อเนื่องแบบ Non-Stop โดยไม่มีเวลาที่จะเข้าห้องน้ำ จึงทำให้อั้นปัสสาวะบ่อย ๆ และประสบปัญหาปัสสาวะแล้วเกิดอาการแสบ สีของปัสสาวะมีความผิดปกติไปจากเดิม มีอาการปวดท้องน้อยอยู่บ่อย ๆ หรือหากหนักเข้าหน่อยอาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ใครหลายคนต้องเผชิญ เพราะไม่ได้มีการปัสสาวะภายใน 6 ชั่วโมง จึงทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคและทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้

4. โรคอ้วน

โรคอ้วนนับว่าเป็นสิ่งที่ใครหลาย ๆ คนต่างเผชิญ เพราะพฤติกรรมที่มัวแต่นั่งทำงานติดต่อ 8 ชั่วโมง การบริโภคอาหารที่มีแต่ไขมัน น้ำตาล แป้ง ก็ยิ่งจะส่งผลให้กลายเป็นโรคอ้วนมากขึ้น สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอ้วนส่วนใหญ่มักเกิดจากความเครียด เพราะความเครียดร่างกายบางคนจะตอบสนองด้วยการกิน ยิ่งกินยิ่งหายเครียด และหากได้ทานของหวาน ๆ หรือช็อกโกแลตก็สามารถลดความเครียดได้ดี แต่ก็จะกลายเป็นโรคอ้วนได้ในอนาคต

5. โรคซีวีเอส (โรคทางสายตา)

Image by Freepik

ถ้าหากใครทำงานเป็นเวลานาน 8 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง แถมยังหยิบสมาร์ทโฟนมาเล่นบ่อย ๆ จนทำให้ไม่มีเวลาให้ตาได้พัก อาจทำให้เกิดโรคซีวีเอส (โรคทางสายตา) จากการจ้องแสงสีฟ้าจากหน้าจอ ที่หากคงพฤติกรรมนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จะทำให้จอประสาทตาค่อย ๆ เสื่อมลงได้ โดยอาการเบื้องต้นจะมีอาการปวดตา การมองเห็นพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด มีอาการตาแห้ง ซึ่งถือว่าเป็นโรคพื้นฐานที่จะลุกลามไปสู่การเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม โรควุ้นในตาเสื่อม และอื่น ๆ อีกมากมาย นับเป็นปัญหาสุขภาพร่างกายที่ต้องดูแลให้ดี เพราะบางอย่างไม่สามารถรักษาให้หายได้

6. โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า นับว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับทางจิตใจและทางร่างกาย ในกรณีที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชวนทำให้จิตตก หรือเจอสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี และไม่สามารถหลุดออกจากภาวะนั้นได้ จะทำให้จิตใจมีสภาพแย่ลงเรื่อย ๆ จนนำไปสู่สารเคมีในสมองอย่างเซโรโทนินทำงานผิดปกติ เมื่อมีความผิดปกติระยะยาวก็ทำให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้โดยไม่รู้ตัว ในอีกกรณีก็คือเป็นจากทางร่างกายในส่วนของสารเคมีในสมองผิดปกติก็สามารถทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน

ใส่ใจ ดูแลสุขภาพ และเช็คอัพเป็นประจำทุกปี

Image by jcomp on Freepik

การใส่ใจ ดูแลสุขภาพ และเช็คอัพร่างกายเป็นประจำทุกปี จะช่วยสร้างความมั่นใจว่าร่างกายปกติและแข็งแรง หรือหากมีภาวะเสี่ยงหรือเป็นโรคใดอยู่นั้นก็ควรจะรีบรักษาโดยด่วน จะได้ไม่เป็นหนัก หรือกว่าจะหาทางรักษาก็สายไปแล้ว หากใครที่คิดว่าตัวเองอายุ 25 ปี ยังน้อยก็อย่าชะล้าใจ เพราะความจริงแล้วสามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่ตอนอายุ 25 ปี และสามารถเพิ่มความถี่ในการตรวจหลังอายุ 40 ปี เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวได้อีกด้วย

Cover Image : Image by Freepik


คอร์สอบรมแนะนำจาก อบรมดอทคอม

Exit mobile version