ในโลกที่การสื่อสารไร้ขีดจำกัด องค์กรหรือบริษัทชื่อดัง ต่างให้ความสำคัญกับการสื่อสารมากขึ้น เพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมาย วันนี้เรามี แอพคุยงาน อัพเดตใหม่มาแนะนำ พบกับ 8 แอพพลิเคชันคุยงาน ที่มีฟีเจอร์สุดล้ำมากมาย สามารถใช้พูดคุยสื่อสาร ส่งไฟล์ หรือติดต่อประสานงานกับคนภายในหรือนอกองค์กรได้ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ แยกเรื่องงานออกจากเรื่องส่วนตัวได้อย่างสมดุล จะมีแอพอะไรบ้างนั้น ไปติดตามชมพร้อม ๆ กัน
รวมข้อดี – ข้อเสีย 8 แอพคุยงาน เลือกใช้ได้ตามแต่ละองค์กร
1. Slack
แอพคุยงาน Slack เหมาะกับการใช้งานในองค์กรหรือออฟฟิศที่เน้นการแชทแบบห้องสนทนา เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน หรือส่งไฟล์หากัน และค้นหาบทสนทนาเก่า ๆ ได้ ภายในแอพ Slack มีฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมาย ช่วยจัดระเบียบข้อความในแชทแบบไม่กินพื้นที่ แอพนี้ถ้าคุยกันให้ลึกขึ้นอีก คือสามารถไปถึงขั้น Enterprise ได้เลย คือมี bot หรือ plugin ต่าง ๆ มากมายในการเปิด Workflow หรือ Ticket เพื่อทำ Channel Inquiry มี Bot Translate มากไปกว่านั้น Slack ยังมี Third Party มากมายที่สามารถนำมา Plug-in กันได้ หรือเจ้า Slack นี่เองก็มีตัว Adapter ให้เชื่อมต่อกับแอพอื่น ๆ เพื่อการทำงานที่ไร้รอยต่อได้เช่นกัน
ข้อดี
- สามารถลงชื่อเข้าสู่ระบบได้ด้วย Gmail, Apple ID หรืออีเมลอื่น ๆ
- ภายในแอพ Slack มีฟีเจอร์น่าสนใจมากมาย เช่น Thread ตัวช่วยจัดระเบียบแชทที่สามารถแสดงความคิดเห็นในข้อความนั้นได้ ซึ่งจะแสดงแยกออกมาในรูปแบบหน้าต่างใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้งานอ่านความคิดเห็นเห็นต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น
- สามารถตั้งค่าเวลาเปิด และปิดการแจ้งเตือน หรือตั้งค่าเวลาในการส่งข้อความได้ เพิ่มความสะดวก สบายแก่ผู้ใช้งาน อีกทั้งยังไม่เป็นการรบกวนเวลาพักผ่อน
- Call หากันด้วยเสียง หรือจัดประชุมแบบง่าย ๆ โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่าสองคนขึ้นไปก็ทำได้ ด้วยฟีเจอร์ Huddle แชร์หน้าจอ ภาพและเสียงได้มาตรฐาน
- มีทั้ง Windows และ Mac หากเป็นโมบายแอพพลิเคชันก็ซัพพอร์ตทั้ง Android และ iOS
ข้อเสีย
- เมื่อใช้งานแอพในระยะเวลาหนึ่ง ข้อความเก่าจะหายไป
- เวอร์ชันพรีเมียมมีราคาค่อนข้างแพง
2. Workplace
มาต่อกันที่แอพ Workplace อีกหนึ่งแอพพลิเคชันที่เน้นใช้งานในองค์กร แอพนี้ถูกพัฒนาโดย Meta หรือ Facebook ซึ่งมีการปรับใช้เหมาะกับการทำงานในองค์กร ภายในมีฟีเจอร์คล้ายคลึงกับ Facebook แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ แอพ Workplace จะแบ่งออกเป็นส่วน 2 คือ ส่วนหน้าฟีด และส่วนแชทที่จัดทำเป็นแอพโดยเฉพาะ
ข้อดี
- สามารถลงชื่อเข้าใช้งานแอพ Workplace ผ่านช่องทาง Email, Mobile Number, Username เป็นต้น
- ผู้ใช้งานสามารถโพสต์ไฟล์รูปภาพ วิดีโอ และอื่น ๆ ได้อย่างไม่จำกัด
- มีคลังสำหรับจัดเก็บข้อมูลขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย หรือข่าวสารต่าง ๆ
- สามารถสร้างกลุ่มการทำงาน เช่น กลุ่มทีมต่าง ๆ
- ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันได้ทั้ง Android และ iOS
ข้อเสีย
- การค้นหาบทสนทนา หรือข้อความเก่า ๆ อาจทำได้ยาก
3. Google Chat
Google Chat แอพคุยงานที่พัฒนาโดย Google ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกันภายใน และภายนอกองค์กร สามารถใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชันอื่น ๆ ใน Google Apps ได้อย่างไร้รอยต่อ เช่น Goole Drive, Google Docs ,Google Sheet เป็นต้น ภายในแอพมีฟีเจอร์แชทที่รองรับการพูดคุยสนทนาแบบตัวต่อตัวและแบบกลุ่ม
ข้อดี
- สามารถลงชื่อเข้าใช้งานผ่านบัญชี Google ได้ เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งาน
- ผู้ใช้งานสามารถแชร์งานต่าง ๆ รวมถึงบันทึกไฟล์ใน Google Drive ได้โดยตรง
- มีฟีเจอร์แชทที่รองรับการพูดคุยสนทนาทั้งแบบตัวต่อตัว และแบบกลุ่ม
- หากมีการประชุมแบบเร่งด่วน สามารถนัดประชุมออนไลน์โดยใช้เครื่องมือจาก Google Meet และเชื่อมต่อไปยัง Google Calendar ไร้รอยต่อ
- เมื่อผู้ใช้งานเลือกผู้ติดต่อได้แล้ว จะทำการส่งรูปภาพ, Meet Link, Drive หรืออื่น ๆ ให้คู่สนทนาได้ทันที
- ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันได้ทั้ง Android และ iOS
ข้อเสีย
- มีการจำกัดผู้เข้าร่วมการสนทนาแบบกลุ่มสูงสุดอยู่ที่ 400 คน
- ผู้ใช้งานไม่สามารถเพิ่มผู้เข้าร่วมภายนอกไปยังแชทกลุ่มได้
- ไม่รองรับการผ่านโทรศัพท์ หรือ SMS ต้องใช้ใน voice.google.com หรือดาว์โหลดแอพ Google Voice
4. LINE WORKS
แอพคุยงานยอดนิยม LINE WORKS ออกแบบโดย LINE ที่เรารู้จักกันดี เพื่อแก้ปัญหาการคุยงานผ่านแอพ LINE ที่แต่เดิมมักมีปัญหา แอพนี้จึงถูกสร้างมาให้มีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กรที่ต้องการการติดต่อประสานงานกัน โดยเฉพาะกับพนักงานใหม่
ข้อดี
- มีฟีเจอร์สร้างสิ่งที่ต้องทำเป็น Task ของตัวเองหรือของทีม
- สามารถแบ่งประเภทคนตามตำแหน่งงานได้
- ช่วยจัดตารางงาน รวมถึงการนัดประชุมต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
- มีการแนะนำการใช้งานเบื้องต้น สำหรับผู้ใช้งานมือใหม่
- สามารถสร้างรายชื่อผู้ติดต่อได้ทั้งในและนอกองค์กร
- เมื่อส่งไฟล์แล้วจะไม่มีหาย เพราะ LINE WORKS มีพื้นที่ให้ฟรีถึง 5GB
- ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันได้ทั้ง Android และ iOS
ข้อเสีย
- ไม่เหมาะกับทีมหรือองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้หลายฟีเจอร์ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- คอมมูนิตี้ยังไม่เยอะ
5. Discord
แม้แรกเริ่ม Discord สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการผู้ใช้งานที่เป็นเกมเมอร์ เนื่องจากเจ้าของบริษัทต้องการสร้างแพลตฟอร์มให้เกมเมอร์ใช้พูดคุยระหว่างเล่นเกม แต่ในปัจจุบันสามารถนำแอพ Discord ไปใช้ในการสร้างห้องประชุมเพื่อคุยงานต่าง ๆ ได้
ข้อดี
- ฟีเจอร์ภายในแอพ Discord ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
- สามารถสร้างห้องเพื่อคุยงานได้ทั้งแบบข้อความไปจนถึงวิดีโอคอล
- เพิ่ม feature อื่น ๆ ได้ เช่น บอตการแจ้งเตือน บอตเสียงเพลง เป็นต้น
ข้อเสีย
- สามารถจัดส่งรูปภาพและไฟล์ในแอพสูงสุดเพียง 8 MB แบบไม่เสียค่าบริการ
- อาจได้รับความเสี่ยงจากมัลแวร์ เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบเกี่ยวกับประเภทของลิงก์และไฟล์อย่างเข้มงวดเท่าที่ควร
6. Microsoft Teams
เป็นที่รู้จักกันดีในนามของผู้สร้าง Microsoft office ที่เราใช้งานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น MS Words, Excel หรือ Power Point ซึ่งล่าสุดก็ได้สร้างเครื่องมือที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องมือต่าง ๆ ของ Microsoft office ไว้ด้วยกันอย่าง Microsoft Teams หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า Teams นั่นเอง หากคุณเป็นสาวก Microsoft ก็ไม่ควรพลาด เพราะจะได้ทำงานได้อย่างสมูธมากขึ้น
ข้อดี
- รองรับการประชุมในรูปแบบการโทรด้วยเสียง หรือวิดีโอคอล รวมถึงสามารถส่งข้อความในรูปแบบเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มได้
- สำหรับผู้ใช้งาน Microsoft สามารถใช้แอพ Teams เป็นตัวเชื่อมเครื่องมือต่าง ๆ ในการใช้งาน Microsoft office ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อเสีย
- มีขอบเขตการใช้งานที่จำกัด เช่น หน้าจอในการแสดงผลน้อย ทำให้เห็นจำนวนคนใน Microsoft Teams ได้ไม่ครบ หรือเห็นภาพไม่ค่อยชัดเจน
7. Zoom
หนึ่งในแอพคุยงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด Zoom เป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารในรูปแบบวิดีโอ Zoom Meeting และแชท ตัวช่วยในการจัดการประชุมแบบไร้พรมแดน สามารถคุยงานได้ทุกที่ทุกเวลา
ข้อดี
- ตอบโจทย์ผู้ใช้งานสายธุรกิจหรือผู้ที่เปิดคอร์สสอนออนไลน์
- สามารถจัดการประชุมขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่
- ใช้งานฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย
- หากต้องการใช้งานเพื่อจัดประชุมขนาดใหญ่ ต้องจ่ายค่าบริการ 480 บาทต่อเดือน
8. Toggl
แอพคุยงานที่จะช่วยคำนวณระยะเวลาการทำงาน เพื่อวางแผนงานให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ระบบซอฟท์แวร์ของ Toggl จะทำหน้าที่ในการคำนวณและบันทึกระยะเวลาที่ใช้ไปทั้งหมด ตอบโจทย์ผู้ใช้งานนอกสถานที่
ข้อดี
- ตอบโจทย์ผู้ใช้ฟรีแลนซ์ หรือคนที่ทำงานทางไกล เพราะระบบของ toggl ช่วยติดตามผลโปรเจ็คต่าง ๆ ที่เราทำ ซึ่งสามารถกดดูได้ทุกเมื่อ
- ช่วยคำนวณเวลาในการทำงาน เหมาะกับผู้ที่ทำงานโดยรับผลตอบแทนตามระยะเวลาในการทำงาน เพราะระบบจะคำนวณให้แบบอัตโนมัติ
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนงานให้ดียิ่งขึ้น ลดต้นทุนเวลาการทำงาน ทำให้เราสามารถพัฒนาแผนงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อเสีย
- ทุกอย่างอาจไม่ได้ดำเนินตามแผนการที่วางไว้ ควรมีความพอดีในการใช้เครื่องมือ
เลือกให้เหมาะสม โอกาสเพิ่ม %Productivity
ทั้งหมดนี้คือแอพคุยงานที่น่าสนใจ เหมาะกับการใช้ในการพูดคุยหรือติดต่อประสานงานภายในและนอกองค์กร สำหรับใครที่กำลังมองหาแอพคุยงานยุคใหม่ มีฟีเจอร์ที่ทันสมัย สามารถดาวน์โหลดและทดลองใช้งานดู หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งานไม่มากก็น้อย
Cover Image : Image by Freepik