Close Menu
athena แหล่งความรู้athena แหล่งความรู้
  • Home
  • Boost Up!
    • Vibes
    • Hype
  • Bizz
  • Geek

แอด LINE Id : @aobrom

อัปเดต *ความรู้ใหม่* ข่าวคอร์สอบรม สอนทำธุรกิจ พัฒนาตนเอง ทักษะไอที by อบรมดอทคอม

เพิ่มเพื่อน
What's Hot

เช็คความเสี่ยงก่อนจะสาย.. รู้ก่อนไม่มีคำว่า ธุรกิจเจ๊ง

รวม 7 แอปเรียนภาษา ทั้งสนุกและได้ความรู้

วิธีสังเกตสุขภาพจิต สัญญาณเตือน Mental Health ที่ควรได้รับการดูแล

Facebook Instagram YouTube
athena แหล่งความรู้athena แหล่งความรู้
  • Home
  • Boost Up!
    1. Vibes
    2. Hype
    3. View All

    ต้องรอด ! มนุษย์เงินเดือน vs โรคออฟฟิศซินโดรม แนวทางรักษาและวิธีป้องกัน

    19/10/2023

    “Put the Right Man on the Right Job” วิธีเลือกคนให้เหมาะกับงาน

    15/10/2023

    สายตาเปรียบดั่งแสงส่องทาง.. “อาการตาล้า” ปัญหาสายตา เล็ก ๆ ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม

    07/10/2023

    แก้การ Burnout Burndown ! แนะนำ งานอดิเรก เยียวยาร่างกายและจิตใจ

    30/09/2023

    รวม 7 แอปเรียนภาษา ทั้งสนุกและได้ความรู้

    17/03/2024

    วิธีสังเกตสุขภาพจิต สัญญาณเตือน Mental Health ที่ควรได้รับการดูแล

    01/01/2024

    Growth Mindset กล้าคิด กล้าเปลี่ยน ปรับกรอบความคิดให้ชีวิตไม่มีลิมิต

    12/12/2023

    “Good health is true wealth” 10 แอปดูแลสุขภาพ ใส่ใจตัวเอง

    21/11/2023

    รวม 7 แอปเรียนภาษา ทั้งสนุกและได้ความรู้

    17/03/2024

    วิธีสังเกตสุขภาพจิต สัญญาณเตือน Mental Health ที่ควรได้รับการดูแล

    01/01/2024

    Growth Mindset กล้าคิด กล้าเปลี่ยน ปรับกรอบความคิดให้ชีวิตไม่มีลิมิต

    12/12/2023

    “Good health is true wealth” 10 แอปดูแลสุขภาพ ใส่ใจตัวเอง

    21/11/2023
  • Bizz
  • Geek
Facebook Instagram YouTube
athena แหล่งความรู้athena แหล่งความรู้
Home » “7 How to” มันโอเคมาก แม้ว่า.. ความรู้สึกดาวน์ จะเกิดขึ้นกับคุณ

“7 How to” มันโอเคมาก แม้ว่า.. ความรู้สึกดาวน์ จะเกิดขึ้นกับคุณ

2 Mins Read35 Views
ความรู้สึกดาวน์
Share
Facebook Twitter LinkedIn Email

บนโลกนี้มีปัญหามากมายให้มากระทบให้เราก้าวข้ามผ่านไป แต่บางครั้งปัญหาก็ถาโถมเข้าใส่จนทำให้เกิด “ความรู้สึกดาวน์” หรืออาการจิตตก หลายครั้งหลายคนสามารถก้าวข้ามภาวะนั้นได้ด้วยตัวเองผ่านประสบการณ์หรือความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ทำเช่นนั้นได้ จนหลายครั้งความรู้สึกยิ่งดำดิ่งลึกลงไปเรื่อย ๆ กว่าจะดึงสติไหวตัวทัน ความคิดก็พาโลดแล่นไปไกล..

ในบทความนี้เราจึงปรารถนาพาทุกคนไปลองสังเกตตัวเองเบื้องต้น เพื่อให้รู้เท่าทัน และรู้วิธีทางป้องกันตัวเองให้ไม่ไถลลึกลงไปตามความรู้สึกดาวน์นั้น *ข้อสำคัญ* คุณไม่จำเป็นเร่งรีบกับสิ่งนี้ หรือคิดว่าต้องทำมันให้ได้ทั้งหมด ให้คุณผ่อนคลายและเพียงแค่เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับตัวคุณ คุณอาจจะเป็นคนที่ “อัพ” ผ่านตรงนี้ไปได้อย่างงดงาม “Your story isn’t over”

ลองสังเกต.. ความรู้สึกดาวน์ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ความรู้สึกดาวน์ของแต่ละคนมีลักษณะหลากหลายแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมากแล้วจะเป็นความรู้สึกเชิงลบ รู้สึกเหงา เศร้า หดหู่ จมอยู่กับโลกแห่งความคิด ไม่อยากออกไปไหน ไม่อยากพบเจอใคร ไม่อยากทำอะไร แม้แต่สิ่งที่ตัวเองชื่นชอบก็ไม่สามารถทำได้ และถ้าถามว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ? ต้องบอกเลยว่าเกิดได้หลายสาเหตุมาก ทั้งเหตุการณ์ที่เผชิญหน้าโดยตรง หรือเหตุการณ์ของคนอื่นที่มากระทบ บรรยากาศที่ชวนหดหู่ รวมถึงการมองดูสิ่งเก่า ๆ ที่อาจจะเคยเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อจิตใจของคุณ ก็จะทำให้เกิดอาการจิตตกนี้ได้

หากคุณเข้าใจ “จุดกำเนิด” และ “รู้เท่าทัน” ในการรับรู้ความรู้สึกนี้ได้ สิ่งนั้นจะช่วยเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณสามารถก้าวข้ามผ่านความรู้สึกดาวน์นั้นไปได้

ความรู้สึกดาวน์
Image by vladimircech on Freepik

รู้ตัว รู้ใจ รู้ทัน ความรู้สึกดาวน์ ก่อนเสี่ยงซึมเศร้า

อย่างที่บอกไป.. คุณไม่จำเป็นต้องเร่งรีบทำมันให้ได้ทั้งหมด สำคัญคือต้องผ่อนคลาย และเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของคุณควบคู่กันไป ดังนั้นทริคในส่วนนี้จะเป็นวิธีที่ทำให้เรารู้ตัว รู้ใจ รู้ทัน ตัวเอง อีกทั้งยังสามารถ “หลีกเลี่ยง” ความรู้สึกดาวน์ ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ ไม่ก็หายจากความรู้สึกดาวน์นั้นได้เลย เราไปดูกันเลยดีกว่าว่าจะต้องทำอย่างไร

1. “อย่า” หาคำตอบจากความคิด

ในทุกครั้งที่คุณอินกับความรู้สึกดาวน์ มักจะมีปัญหาหรือความกังวลใจเข้ามากระทบ เราต้อง “อย่า” พยายามหาคำตอบจากความคิด เช่น ทำไมเธอถึงจากไป.. ฉันไม่ดีตรงไหนเหรอ.. เพราะการหาคำตอบซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ ยิ่งจะเป็นการเพิ่มความรู้สึกให้เจ็บปวด หรือดาวน์ลงได้ง่ายขึ้น คีย์เวิร์ดคือคุณอาจจะลองเปลี่ยนความคิดด้วยการ “ยอมรับ” กับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วเป็นการดีที่สุด

2. ปล่อยให้สุด

แต่หากความคิดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ตามมาคือความเจ็บปวดภายในร่างกายต่าง ๆ บางคนอาจจะปวดหัว บางคนเจ็บหน้าอก หรืออาจจะมวนท้อง ความคิดที่แล่นเข้ามานี้ ให้คุณเปลี่ยนไปโฟกัสที่ร่างกายของคุณ และพยายามยอมรับความเจ็บปวดนั้น พร้อมรับรู้อย่างมีสติกับความเจ็บปวดนั้นซ้ำ ๆ ปล่อยให้มันเจ็บไปถึงจุดพีค อาการเหล่านี้ก็จะลดลง เช่น รู้สึกเจ็บหน้าอกเหมือนโดนน้ำร้อนลวก ปวดหัวเหมือนมีเชือกมารัด ให้ลองนึกแบบนี้ตามแต่ละส่วนที่เกิดกับร่างกาย ท้ายที่สุด.. ความเจ็บปวดก็จะน้อยลง

3. หายใจอย่างถูกวิธี

ต่อเนื่องจากทริคข้อสอง ให้คุณลองสังเกตอารมณ์ของตัวเองพร้อมกับการหายใจไปด้วย การหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธีจะช่วยเปลี่ยนอารมณ์และร่างกาย ทำให้ความรู้สึกดาวน์น้อยลง เพราะการหายใจของคนเรานั้นมีหลากหลายรูปแบบที่จะแสดงพร้อม ๆ กับอารมณ์ อย่างเช่น การโกรธ เราก็จะหายใจแรง หายใจถี่ หายใจหอบ การหายใจที่ดีและช่วยลดความรู้สึกดาวน์ลงได้ คือการหายใจช้า ๆ ให้ท้องป่อง กลั้นหายใจสักเล็กน้อย จากนั้นก็ค่อย ๆ หายใจออกให้ท้องยุบ

คุณเองก็ทำได้ ลองฝึกดู ไม่ต้องรีบร้อน…

Power up สุขภาพและการทำงาน แค่ “หายใจ” ให้เป็น

4. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถลดความรู้สึกดาวน์ได้ และคุณอาจจะชอบมันมากแน่ ๆ คือการผ่อนคลายเพื่อลดความเกร็ง ให้ร่างกายได้ “ทิ้งตัว” ลงอย่างเต็มที่มากที่สุด โดยเราจะอยู่ในท่านั่ง หรือท่านอนก็ได้ตามสะดวก ปลดปล่อยน้ำหนักของร่างเนื้อนี้ทิ้งไว้ ไม่ต้องเกร็ง หากส่วนไหนรู้สึกเกร็งก็ค่อย ๆ คลายความเกร็งนั้นลง ถ้าหากรู้สึกว่าคิ้วขมวด เราก็สามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณดวงตาด้วยการหลับตาลงได้เช่นเดียวกัน

อ่านมาถึงตรงนี้.. หากคุณเริ่มอินกับไอเดียนี้บ้างแล้ว ลองประยุกต์ร่วมกับการหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธีอย่างที่เรานำเสนอไป ก็นับเป็นคอมโบที่สวยงามทีเดียว

5. ออกไปหาอะไรทำ เน้นการใช้แรง

สำหรับใครที่ลองวิธีข้างบนไปแล้วรู้สึกว่าไม่ได้ผล เพราะไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ หรือควบคุมความคิดได้ แนะนำว่าให้ลองหากิจกรรมที่ใช้แรงทำ เช่น การวิ่งออกกำลังกาย ทำความสะอาดบ้าน จัดของในห้อง หรืออาจเป็นการใช้แรงในลักษณะเพื่อเปลี่ยนโฟกัสทางความคิดก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้

ทริคนี้มีความเป็นเหตุเป็นผลทางการแพทย์ เพราะการออกกำลังกายหรือการใช้แรงทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่มีผลโดยตรงกับสมอง บางทีคุณคงยังไม่เห็นภาพกับเรื่องฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องนี้มากนัก เพราะมันจับต้องไม่ได้ แต่ถ้าคุณได้รู้จักเจ้าโดพามีนและเซโรโทนิน ผ่านการออกกำลังกายแล้วละก็.. มันฟินจริง ๆ นะ

ความรู้สึกดาวน์
Image by Lifestylememory on Freepik
  • โดพามีน (Dopamine) ฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดี
  • เซโรโทนิน (Serotonin) ฮอร์โมนที่ลดความรู้สึกซึมเศร้า

(ข้อมูล ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย จากเว็บไซต์โรงพยาบาลสมิติเวช)

6. Give me some Dark !

แม้ทริคนี้จะจั่วหัวด้วยวลีดาร์ก ๆ แต่ไม่ดาร์กอย่างที่คิด เพราะอยากให้คุณลองหาของหวานแสนอร่อยอย่าง ดาร์กช็อกโกแลต มาเก็บประจำตู้เย็นไว้ อาจเป็นดาร์กช็อกโกแลตในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องดื่ม เบเกอรี่ หรือช็อกโกแลตแท่ง ได้หมดเลย เพราะสาร “ฟลาโวนอยด์” ในดาร์กช็อกโกแลตช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังสมองได้ดีขึ้น กินไปพักผ่อนหย่อนใจไป เจ้านี่จะช่วยให้คุณคลายเครียดได้อย่างไม่รู้ตัว แต่อย่ากินเยอะจนเกินไปล่ะ.. เดี๋ยวอ้วน

#FunFact จากที่มีการศึกษาพบว่า คนที่กินดาร์กช็อกโกแลตปริมาณ 40 กรัมทุกวัน นาน 2 สัปดาห์ จะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนแห่งความเครียดลดลง เมื่อเทียบกับวันแรกที่เริ่มทาน

(ข้อมูล ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต จากเว็บไซต์โรงพยาบาลเมดพาร์ค)

7. เปลี่ยนจังหวะชีวิต

ถ้าคุณลองทุกอย่างแล้ว และยังไม่สามารถลดความรู้สึกดาวน์ได้จริง ๆ แนะนำว่าให้ลองเปลี่ยนจังหวะวิถีชีวิตเดิม ๆ และไปเจอวิถีชีวิตใหม่ ๆ ได้ทำอะไรใหม่ ๆ ได้พบเจอผู้คนใหม่ ๆ เช่น สมัครคอร์สอบรมความรู้ใหม่ เข้าร่วมอีเวนท์ที่ไม่เคย ไปคอนเสิร์ต ดูละครเวที เข้าร่วมงานอาสาสมัคร เที่ยวชมแกลอรี่ ให้คุณเลือกบริบทที่เราพอจะถนัดและอยู่กับมันได้ ประสบการณ์ใหม่ สภาพแวดล้อมใหม่จะช่วยทำให้จิตใจดีขึ้น ปลอดโปร่งขึ้น ทำให้สามารถหลุดช่วงเวลาดาวน์ได้สักแป๊บนึงก็ยังดี ที่ต่อให้ใจไม่ต้องการแต่แนะนำว่าให้ลองฝืนหน่อย และเมื่อพบเจอ Golden time นี้แล้ว ให้คุณค่อย ๆ ย้อนกลับมาทบทวนตั้งแต่ข้อแรกอีกครั้ง

ความรู้สึกดาวน์
Image by rawpixel.com on Freepik

Key Takeaway

เมื่อเราเกิดความรู้สึกดาวน์สิ่งหนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือการ “รู้ตัว” เมื่อรู้ตัวแล้วก็ต้องทำอาการให้หายไป หรือลดความรู้สึกดาวน์ที่เกิดขึ้นก่อน อย่าพยายามจมกับความรู้สึก อย่าพยายามจมกับความคิด จนสุดท้ายหากความรู้สึกดำดิ่ง และพาตัวเองออกมาไม่ได้ ซึ่งหากใครถึงจุดที่พาตัวเองออกมาไม่ได้ แนะนำว่าให้ลองปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อระบายเรื่องราว หรือหาทางรักษาเพื่อให้กลับมาเป็นตัวเองได้อีกครั้ง

อ่านมาถึงตรงนี้ได้.. คุณยอดเยี่ยมมากแล้ว และมันโอเคมาก ที่ความรู้สึกดาวน์อาจจะเกิดขึ้นกับคุณ บทความนี้เป็นหนึ่งในตัวช่วยและกำลังใจให้คุณ 😉

Cover Image : Image by wirestock on Freepik


คอร์สอบรมแนะนำจาก อบรมดอทคอม

การพัฒนาตนเอง

“การพัฒนาตนเอง”

การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

“การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน”

burn out คือ burnout burnout syndrome กลุ่มอาการดาวน์ การพัฒนาตนเอง การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คลายเครียด ความรู้สึกดาวน์ จิตตก ซึมเศร้า ดาร์ก ช็อกโกแลต รู้สึกดาวน์ อาการดาวน์ เซโรโทนิน แก้เครียด โดพามีน
Previous ArticleMBTI® ส่องบุคลิกภาพตัวละครซีรีส์ยอดฮิต House of the Dragon
Next Article 6 เครื่องมือ ตีบวก +Marketing funnel+ ให้ทรงพลัง

Related Posts

รวม 7 แอปเรียนภาษา ทั้งสนุกและได้ความรู้

17/03/2024

วิธีสังเกตสุขภาพจิต สัญญาณเตือน Mental Health ที่ควรได้รับการดูแล

01/01/2024

Growth Mindset กล้าคิด กล้าเปลี่ยน ปรับกรอบความคิดให้ชีวิตไม่มีลิมิต

12/12/2023

แอด LINE Id : @aobrom

อัปเดต *ความรู้ใหม่* ข่าวคอร์สอบรม สอนทำธุรกิจ พัฒนาตนเอง ทักษะไอที by อบรมดอทคอม

เพิ่มเพื่อน
คนละ 1 LIKE *เป็นกำลังใจให้เรา*
อบรมดอทคอม
ความรู้ใหม่ ๆ ไม่ควรพลาด
Bizz

เช็คความเสี่ยงก่อนจะสาย.. รู้ก่อนไม่มีคำว่า ธุรกิจเจ๊ง

15/06/2024
Boost Up

รวม 7 แอปเรียนภาษา ทั้งสนุกและได้ความรู้

17/03/2024
Boost Up

วิธีสังเกตสุขภาพจิต สัญญาณเตือน Mental Health ที่ควรได้รับการดูแล

01/01/2024
Bizz

5 ไอเดีย วิธี หารายได้เสริม ง่าย ๆ ด้วย ChatGPT

16/12/2023
Hype

Growth Mindset กล้าคิด กล้าเปลี่ยน ปรับกรอบความคิดให้ชีวิตไม่มีลิมิต

12/12/2023
ติดตาม athena จาก social อื่น ๆ
  • Facebook
  • Instagram
  • YouTube
athena แหล่งความรู้
Facebook Instagram YouTube
  • Home
  • Vibes
  • Hype
  • Bizz
  • Geek
  • คอร์สอบรมทั้งหมด
  • ผู้สอนลงประกาศ
© 2025 athenabkk.co. Crafted by อบรมดอทคอม.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.